วันเสาร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

Lesson 3


บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ทางการศึกษาปฐมวัย
(Learning Experiences Management in Early Childhood Education)
อาจารย์ผู้สอน : อ.จินตนา  สุขสำราญ                           
ประจำวันที่ : 6 กุมภาพันธ์ 2560
เรียนครั้งที่่ :  3 เวลา 11.30-14.30 น.                                   
กลุ่ม  102 วันจันทร์ ห้อง 34-301



Knowledge (ความรู้)

ปรัชญาการศึกษาปฐมวัย

การศึกษาปฐมวัยเป็นการพัฒนาเด็กตั้งแต่แรกเกิดถึง ๕ ปี* บนพื้นฐานการอบรมเลี้ยงดูและการ
ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ที่สนองต่อธรรมชาติและพัฒนาการของเด็กแต่ละคนตามศักยภาพ ภายใต้บริบทสังคม-วัฒนธรรมที่เด็กอาศัยอยู่ ด้วยความรักความเอื้ออาทร และ ความเข้าใจของทุกคน เพื่อสร้างรากฐานคุณภาพชีวิตให้เด็กพัฒนาไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ เกิดคุณค่าต่อตนเองและสังคม


หลักการจัดการศึกษาปฐมวัย

1. การสร้างหลักสูตรที่เหมาะสม
2. การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก
3. การจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็ก
4. การบูรณาการการเรียนรู้
5. การประเมินพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็ก = เด็กมีพัฒนาการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ ทำได้โดยการสังเกต สนทนา ชิ้นงานของเด็ก

  • เครื่องมือของการสังเกต คือ แบบสังเกต
  • เครื่องมือของการสนทนา คือ แบบบันทึกการสนทนาคำพูดของเด็ก
  • เครื่องมือของชิ้นงานของเด็ก คือ เกณฑ์การประเมิน โดยการนำเอาพัฒนาการหรือคุณลักษณะตามวัยมาเป็นเกณฑ์ 
  ** รวมกันเรียกว่า พอร์ตโฟลิโอ**
6. ความสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนกับครอบครัวของเด็ก เครื่องมือที่ใช้คือ

  • Line
  • Facebook
  • โซเชียลต่างๆ
  • การสนทนาไม่เป็นทางการ
  • การประชุม
  • จดหมายสานสัมพันธ์บ้าน โรงเรียน
  • บอร์ดให้ความรู้ต่างๆ

จุดหมาย

            จุดหมายของการศึกษาปฐมวัยมุ่งให้เด็กมีพัฒนาการที่เหมาะสมกับวัย  ความสามารถ   และความแตกต่างระหว่างบุคคลทั้งทาง ด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา เมื่อเด็กจบการศึกษาปฐมวัย  เด็กจะบรรลุมาตรฐานคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่กําหนดไว้ในจุดหมาย  12  ขอ  และแต่ละช่วงวัยต้องคำนึงถึงคุณลักษณะตามวัยของเด็กด้วย  ซึ่งจะครอบคลุมพัฒนาการทั้ง  4  ด้าน  ดังนี้          
             1. ร่างกายเจริญเติบโตตามวัย และมีสุขนิสัยที่ดี
             2. กล้ามเนื้อใหญ่และกล้ามเนื้อเล็กแข็งแรง ใช้ได้อย่างคล่องแคล่วและประสานสัมพันธ์กัน
             3. มีสุขภาพจิตดี และมีความสุข
             4. มีคุณธรรม จริยธรรม และมีจิตใจที่ดีงาม
             5. ชื่นชมและแสดงออกทางศิลปะ ดนตรี การเคลื่อนไหว และรักการออกกำลังกาย
             6. ช่วยเหลือตนเองได้เหมาะสมกับวัย
             7. รักธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม และความเป็นไทย
             8. อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุขและปฏิบัติตนเป็นสมาชิกที่ดีของสังคมในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
             9. ใช้ภาษาสื่อสารได้เหมาะสมกับวัย
             10.มีความสามารถในการคิดและการแก้ปัญหาได้เหมาะสมกับวัย
             11.มีจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์

             12.มีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้ และมีทักษะในการแสวงหาความรู้


คุณลักษณะตามวัย

            เป็นความสามารถตามวัยหรือพัฒนาการตามธรรมชาติเมื่อเด็กมีอายุถึงวัยนั้นๆ ผู้สอนจำเป็นต้องทำความเข้าใจคุณลักษณะตามวัยของเด็กอายุ 3 – 5 ปี เพื่อนำไปพิจารณาจัดประสบการณ์ให้เด็กแต่ละวัยได้อย่างถูกต้องเหมาะสม ขณะเดียวกันจะต้องสังเกตเด็กแต่ละคนซึ่งมีความแตกต่างระหว่างบุคคล เพื่อนำข้อมูลไปช่วยในการพัฒนาเด็กให้เต็มตามความสามารถและศักยภาพ พัฒนาการเด็กในแต่ละช่วงอายุอาจเร็วหรือช้ากว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้และการพัฒนาจะเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ถ้าสังเกตพบว่าเด็กไม่มีความก้าวหน้าอย่างชัดเจนต้องพาเด็กไปปรึกษาผู้เชี่ยวชาญหรือแพทย์เพื่อช่วยเหลือและแก้ไขได้ทันท่วงที คุณลักษณะตามวัยที่สำคัญของเด็กอายุ 3 – 5  ปี


สาระที่ควรเรียนรู้
           
             1.เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก
             2.เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่แวดล้อมเด็ก
             3.ธรรมชาติรอบตัว
             4. สิ่งต่างๆรอบตัวเด็ก


กิจกรรมที่ทำในวันนี้

แบ่งกลุ่มออกเป็น 3 กลุ่มเเละคิดหน่วยที่จะสอนเด็กมา 1 หน่วย
         
หน่วย นม




หน่วย ไข่


 

หน่วย ดิน



Skill (ทักษะ)

- การคิดวิเคราะห์
- การตอบคำถาม
- การประยุกต์ใช้ความรู้


Application  (การประยุกต์ใช้)
               
        นำความรู้ที่ได้ในวันนี้ ไปใช้ในการคิดหน่วยที่จะใช้สอนเด็ก โดยการเริ่มวางแผนจากการทำเป็นแผนผังความคิด (Mind Mapping) ว่าหน่วยที่จะสอนเด็กจะสอนเกี่ยวกับเรื่องอะไรบ้าง เพื่อให้การเรียนการสอนไปอย่างเรียบร้อยและเด็กก็จะได้รับความรู้อย่างเต็มศักยภาพ

Technical Education (เทคนิคการสอน)

- เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
- ใช้คำถามในการกระตุ้นผู้เรียน
- เทคนิคการใช้คำถาม


Evaluation (การประเมิน)  

Self: เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจเรียนและจดในสิ่งอาจารย์สอน
Friend : ตั้งใจเรียน ช่วยกันตอบคำถาม
Teacher : เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย เวลาสอนก็จะสอนแบบละเอียด อธิบายเพิ่มเติมจากสิ่งที่นักศึกษาทำ แนะแนวทางให้งานสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น คอยกระตุ้นให้นักศึกษากระตือรือล้นในการเรียน และใช้น้ำเสียงที่นุ่มนวล สูง ต่ำ ตามจังหวะของการสอน และสอดแทรกเทคนิคที่ดีในระหว่างที่เรียน





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น