บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ทางการศึกษาปฐมวัย
(Learning Experiences Management in Early Childhood Education)
อาจารย์ผู้สอน : อ.จินตนา สุขสำราญ
ประจำวันที่ : 6 มีนาคม 2560
เรียนครั้งที่่ : 6 เวลา 11.30-14.30 น.
กลุ่ม 102 วันจันทร์ ห้อง 34-301
จับหัว จับหู จับไหล่
จับดูใหม่ จับไหล่ จับหู
จับใหม่ จับให้ฉันดู (ซ้ำ)
จับหัว จับหู แล้วมาจับไหล่
เพลง อย่าเกียจคร้าน
อย่าเกียจคร้านการทำงานนะพวกเรา
งานหนักงานเบา เหนื่อยเเล้วเราพักผ่อนก็หาย
ไม่มีงานหลบหลีกงาน ด้วยเกียจคร้าน เอาแต่สบาย
แก่จนตายขอทำนายว่าไม่เจริญ
ด้านอารมณ์-จิตใจ
ด้านสังคม
ด้านสติปัญญา
Knowledge (ความรู้)
กิจกรรม เพลงที่ฝึกการใช้สมองเป็นฐาน
เพลง ศูนย์ สอง ห้า สิบ
ศูนย์ สอง ห้า สิบ (ซ้ำ)
นวดไหล่ซ้าย
นวดไหล่ขวา
แล้วหันมาหัวเราะกัน (ซ้ำ)
ฮะ ฮ่ะ ฮ่า ฮะ ฮ่ะ ฮ่า
นวดไหล่ซ้าย
นวดไหล่ขวา
แล้วหันมาหัวเราะกัน (ซ้ำ)
ฮะ ฮ่ะ ฮ่า ฮะ ฮ่ะ ฮ่า
เพลง จับหัว จับหู จับไหล่
จับหัว จับหู จับไหล่
จับดูใหม่ จับไหล่ จับหู
จับใหม่ จับให้ฉันดู (ซ้ำ)
จับหัว จับหู แล้วมาจับไหล่
เพลง อย่าเกียจคร้าน
อย่าเกียจคร้านการทำงานนะพวกเรา
งานหนักงานเบา เหนื่อยเเล้วเราพักผ่อนก็หาย
ไม่มีงานหลบหลีกงาน ด้วยเกียจคร้าน เอาแต่สบาย
แก่จนตายขอทำนายว่าไม่เจริญ
ภาพการทำกิจกรรม
เทคนิคการสอนเด็กร้องเพลง
- อ่านให้เด็กฟัง
- ให้เด็กร้องตามทีวรรค
- ร้องพร้อมกัน
แผนการจัดประสบการณ์ ชั้นอนุบาล2 กิจกรรมเสริมประสบการณ์
หน่วย ไข่ เรื่อง ลักษณะของไข่ ประจำวันอังคาร
วัตถุประสงค์
1.เด็กบอกชื่อไข่ไก่และไข่เป็ดได้
2.เด็กอธิบายลักษณะของไข่ไก่และไข่เป็ดได้ เช่น รูปร่าง สี ขนาด ผิวสัมผัสกลิ่น รสชาติ และส่วนประกอบได้
3. เด็กเปรียบเทียบความเหมือน ความแตกต่างของไข่ไก่และไข่เป็ดได้
สาระการเรียนรู้
- สาระที่ควรเรียนรู้
ไข่ไก่ มีรูปร่างทรงกลม หรือทรงรี เปลือกจะมีสีครีม ส้มอมครีม และน้ำตาลอ่อน มีขนาดกลมโต มีผิวที่เรียบ ลื่น มีกลิ่นคาว รสชาติจืดและมีส่วนประกอบคือ เปลือก ไข่ขาว และไข่แดง
ไข่เป็ด มีรูปร่างทรงกลม หรือทรงรี เปลือกจะมีสีขาว สีเขียว มีขนาดกลมโต มีกลิ่นคาว มีผิวที่เรียบ ลื่น รสชาติจืดและมีส่วนประกอบ คือ เปลือก ไข่ขาว และไข่แดง
ความแตกต่างของไข่ไก่และไข่เป็ด
-ไข่ไก่มีเปลือกสีครีม ส้มอมครีม และน้ำตาลอ่อน ส่วนไข่เป็ดมีเปลือกสีขาวหรือเขียว
- ไข่เป็ดมีขนาดใหญ่กว่าไข่ไก่
- ไข่เป็ดกลิ่นคาวมากกว่าไข่ไก่
- ประสบการณ์สำคัญ
ด้านร่างกาย
-การเคลื่อนไหวอยู่กับที่และการเคลื่อนไหวเคลื่อนที่
ด้านอารมณ์-จิตใจ
-การแสดงออกอย่างสนุกสนานกับเรื่องราวเหตุการณ์ต่างๆ
ด้านสังคม
-การทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่นได้
-การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น
ด้านสติปัญญา
-การรู้จักสิ่งต่างๆ ด้วยการมอง ฟัง สัมผัส ชิมรส และดมกลิ่น
-การสำรวจและอธิบายความเหมือนความแตกต่างของสิ่งต่างๆ
กิจกรรมการเรียนรู้
ขั้นนำ
1. ครูและเด็กร่วมกันร้องเพลง “ ลักษณะของไข่”
ไข่เป็ด ไข่ไก่ ไข่เป็ด ไข่ไก่
มีรูปทรงเป็นวงรี
สีขาวครีมผิวเรียบเนียน
มีทั้งเปลือกไข่ขาวไข่แดง
แถมกลิ่นมันนั้นยังคาว
2. ครูสนทนาและใช้คำถาม เช่น “ในเพลงไข่มีลักษณะยังไง”
ขั้นสอน
3. ครูนำไข่ไก่และไข่เป็ดไปใส่ในแผงไข่โดยใช้ผ้าปิดไว้มาให้เด็กๆดูและถามเด็กว่า “มีอะไรอยู่ในนี้”
4.ครูหยิบไข่ไก่ และไข่เป็ดขึ้นมาให้เด็กสังเกตเกี่ยวกับลักษณะ รูปร่าง สี ขนาด ผิวสัมผัส กลิ่น รสชาติ และส่วนประกอบ
5. ครูและเด็กร่วมกันสนทนาเปรียบเทียบความเหมือน ความแตกต่างของไข่ไก่และไข่เป็ดโดยใช้ผังกราฟิก(เวนไดอะแกรม)
ขั้นสรุป
6. ครูและเด็กร่วมกันสรุปลักษณะของไข่เป็ดและไข่ไก่
สื่อ/แหล่งเรียนรู้
-แผ่นชาร์ตคำคล้องจอง ข.เอ๋ย ข.ไข่
-ไข่ไก่
-ไข่เป็ด
-แผงไข่
-แผ่นชาร์ตเปรียบเทียบความเหมือน ความแตกต่างของไข่ไก่และไข่เป็ด
การวัดและประเมินผล
1.จากการสนทนาและตอบคำถามของเด็ก
2.การบอกชื่อไข่ไก่และไข่เป็ด
3.การอธิบายลักษณะของไข่ไก่และไข่เป็ด
4.การเปรียบเทียบความเหมือนความแตกต่างของไข่ไก่และไข่เป็ด
Skill (ทักษะ)
- การคิดวิเคราะห์
- การตอบคำถาม
- การประยุกต์ใช้ความรู้
Application (การประยุกต์ใช้)
นำความรู้ที่ได้ในวันนี้ ไปใช้ในการจัดประสบการณ์ให้แก่เด็ก นำเทคนิคใหม่ๆมาใช้ เช่น เพลงที่พัฒนาสมอง นอกจากเด็กจะได้ความรู้แล้วเด็กยังเกิดความสนุกอีกด้วย อีกทั้งการเรียนการสอนจะได้มีความหลากหลาย เด็กจะได้ไม่เบื่อ และทำให้เด็กอยากเรียนมากยิ่งขึ้น
Technical Education (เทคนิคการสอน)
- เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
- ใช้คำถามในการกระตุ้นผู้เรียน
- เทคนิคการใช้คำถาม
Evaluation (การประเมิน)
Self: เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจเรียนและจดในสิ่งอาจารย์สอน
Friend : ตั้งใจเรียน ช่วยกันตอบคำถาม
Teacher : เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย เวลาสอนก็จะสอนแบบละเอียด อธิบายเพิ่มเติมจากสิ่งที่นักศึกษาทำ แนะแนวทางให้งานสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น คอยกระตุ้นให้นักศึกษากระตือรือล้นในการเรียน และใช้น้ำเสียงที่นุ่มนวล สูง ต่ำ ตามจังหวะของการสอน และสอดแทรกเทคนิคที่ดีในระหว่างที่เรียน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น